ขี้กาดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ มะนอยจา
เชียงใหม่ ผักขาว
แม่ฮ่องสอน มะนอยหก, มะนอยหกฟ้า
น่าน ผักแคบป่า
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขี้กาเหลี่ยม
นครราชสีมา ขี้กาลาย
ภาคกลาง กะดอม
สระบุรี ขี้กาน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน มีเนื้อไม้ ลำต้นมีขนสาก มีมือเกาะ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไตถึงหัวใจ กว้าง 3 - 8 ซม. ยาว 4 - 10 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักถึงเว้าลึก

ดอกเดี่ยว หรือช่อ 2 - 3 ดอก ดอกแยกเพศ กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว

ผลรูปกระสวย กว้าง 2 - 2.3 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. มีสันตามยาวประมาณ 10 สัน เมล็ดรูปทรงรี
ประโยชน์ทางยา
ผล ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
ใบ คั้นน้ำหยอดแก้ตาแดง แก้ตาอักเสบ
เมล็ด ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ถอนพิษจากการรับประทานพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 85.