เมื่อยดูก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum macrostachyum Hook.f.
ชื่อวงศ์ GNETACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
นครราชสีมา, ตราด เมื่อย, ม่วย
หนองคาย เมื่อยเลือด
อุบลราชธานี ม่วยแดง
กระบี่ กำแพงเพชรเจ็ดชั้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชเมล็ดเปลือย เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 4 - 5 ซม. ยาว 14 - 16 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมถึงมน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.

ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศ รูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 0.7 ซม. ยาวประมาณ 5 ซม. ดอกย่อยเรียงเป็นชั้น ชั้นละประมาณ 10 ดอก

เมล็ดเปลือย ทรงรี สีเขียว เมื่อสุกสีชมพูแกมส้ม
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น - ยาพื้นบ้านอีสารใช้ ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมแก่นกัดลิ้น ลำต้นขมิ้นเครือและลำต้นพรมคต ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ ผสมลำต้นตีนเป็ดน้ำหรือรากหมากหมก ลำต้นเถาเอ็นอ่อน และแก่นกันเกรา ต้มน้ำดื่ม บำรุงเส้นเอ็น ผสมสมุนไพรอื่น แช่เหล้าดื่ม บำรุงกำลัง ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตสตรี
ราก ผสมรากพลับเขา รากเมื่อย และรากปอแดง ต้มน้ำหรือฝนดื่ม แก้ไข้
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 84.