ผักขวง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Glinus oppositifolius (L.) A.DC.
ชื่อวงศ์ MOLLUGINACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ผักขี้ขวง
ภาคกลาง สะเดาดิน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นสูง 10 - 60 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้าง 3 - 10 มม. ยาว 6 - 14 มม.

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ดอกย่อย 2 - 6 ดอก กลีบรวบ 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 3 - 5 มม. ปลายแหลม สีขาวนวล เกสรเพศผู้ 3 - 5 อัน

ผลแห้งแตก รูปขอบขนาน เมล็ดรูปไต
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำดื่ม เจริญอาหาร
- ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ผสมผลมะกรูด ผลมะนาว แก่นลสัดได เหง้ายาหัว และเกลือ แช่น้ำซาวข้าวดื่ม บำรุงร่างกาย
- ตำรายาไทยใช้ เป็นยากระทุ้งพิษ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว แก้ไข้หวัด ปวดศีรษะ แก้ไอ แก้ฟกช้ำ บวม อักเสบ
หัว ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ ตำพอก ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 82.