อึ่งเปาะ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Geodorum attenuatum Griff.
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ทั่วไป ว่านจูงนาง, ว่านถอนพิษ
เชียงใหม่ กำปองดิน
กระบี่ ว่านอึ่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้ดินล้มลุก อายุหลายปี สูง 15 - 20 ซม. เหง้าค่อนข้างกลม

ใบเดี่ยว เรียงเป็นกระจุก รูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ กว้าง 3 - 9 ซม. ยาว 8 - 25 ซม.

ดอกช่อ ออกจากโคนต้น ยาว 5 - 15 ซม. ดอกย่อย 8 - 15 ดอก เรียงแน่นเป็นพุ่มกลม ช่อโค้งลง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปใบหอกแกมรูปไข่ถึงขอบขนาน สีขาว กลีบปากรูปไข่กลับ ปลายสีเหลือง

ผลแห้งแตก
ประโยชน์ทางยา
หัว ดองเหล้าดื่ม บำรุงกำลัง ผสมเหง้าเอื้องหมายนา รากหญ้าหงอนเหงือก และแก่นแฟบน้ำ แช่น้ำดื่มและอาบ แก้ซางเด็ก
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 81.