ม้าโรงแตก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus crininervia Miq.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ชัยภูมิ ม้ากระทืบโรงตัวผู้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 10 - 17 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบใบเรียบและม้วนลง

ดอกช่อ แบบมะเดื่อ ออกที่ซอกใบ รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. ก้านช่อดอกสั้น ดอกย่อยแยกเพศ อยู่ต่างต้น โคนช่อดอกมีใบประดับ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 4 กลีบ ไม่พบต้นเพศผู้

ผลรวมแบบมะเดื่อ ผลย่อยเป็นผลแห้ง เมล็ดล่อน
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ผสมลำต้นข้าวหลาม แก่นหรือรากเจ็ดช้างสารใหญ่ ลำต้นกำลังช้างสาร และลำต้นกำลังเสือโคร่ง ต้มน้ำดื่มบำรุงร่างกาย บำรุงกำลังทางเพศ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 78.