แห้วประดู่


ชื่อวิทยาศาสตร์ Eriosema chinense Vogel
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
เลย หญ้าลูกลีบ
อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี ค้อนกลอง
นครสวรรค์ แห้วดำ
สตูล มันช่าง
สุราษฎร์ธานี มันท่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 15 - 50 ซม.

ใบประกอบมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปแถบหรือรูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้างประมาณ 5 มม. ยาว 2.5 - 6 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน มีขน

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ดอกย่อย 1 - 3 ดอก กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีเหลือง กลีบกลางมีเส้นประสีแดง

ผลเป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน เมล็ดมี 2 เมล็ด รูปไต
ประโยชน์ทางยา
ราก รับประทานสด บำรุงกำลัง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 75.