เสน่ห์จันทน์ตัวผู้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Dopatrium acutifolium Bonati
ชื่อวงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกปีเดียว ขึ้นในที่ชื้นแฉะ สูง 20 - 30 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง 1 - 2 มม. ยาว 10 - 20 มม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบใกล้ปลายยอดมีขนาดเล็ก

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปปากเปิด สีม่วงเข้ม ปลายกลีบสีขาว มีกลิ่นหอม

ผลแห้งแตก รูปไข่แกมรูปรี แตกกลางพูเป็น 2 ซีก เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเล็ก จำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ประดงเลือด ประดงลม ปวดตามข้อ เข้ายาอาบอบ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 71.