ลำบิด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros ferrea (Willd.) Bakh. var. ferrea
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ดำดง
เชียงใหม่ ไคร้มด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมากขี้หนู
ชัยภูมิ หมากน้อย
อุบลราชธานี หลังดำ
ชลบุรี ทิ้งทวด
ระนอง ลำบิดทะเล
นราธิวาส ลำอิด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 - 3.5 ซม. ยาว 3 - 7 ซม. ปลายใบกลม เว้าบุ๋มหรือแหลม โคนใบรูปลิ่ม

ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกที่ซอกใบ สีขาวนวล ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกมี 3 ดอกย่อย ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 6 หรือ 12 อัน

ผลสด ทรงรี
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมหัวกระเทียม ผลพริกไทย ผลช้าพลู และรากสนกระ ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตหลังคลอด
- ยาพื้นบ้านภาคกลางใช้ ต้มน้ำดื่ม แก้สำแดงเมถุน มีอาการร้อนในท้อง
ราก - ยาพื้นบ้านอีกสานใช้ราก ใช้เดี่ยวหรือผสมรากเปล้าใหญ่ รากปลาไหลเผือก และรากมะกอก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้
- ยาพื้นบ้านภาคกลางใช้ ต้มน้ำดื่ม แก้สำแดงเมถุน มีอาการร้อนในท้อง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 70.