พะยูง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่อสามัญ Siamese Rosewood
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี ขะยุง
ปราจีนบุรี แดงจีน
จันทบุรี ประดู่ตม, ประดู่น้ำ
สระบุรี พะยูงไหม
ชลบุรี ประดู่ลาย
ตราด ประดู่เสน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูง 15 - 30 ม.

ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 7 - 9 ใบ รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 6.5 - 15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ยาว 10 - 20 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีขาวนวล กลิ่นหอม

ผลเป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนาน แบน เมล็ดรูปไต
ประโยชน์ทางยา
เปลือกต้นหรือแก่น - ผสมแก่นสนสามใบ แก่นแสมสาร และแก่นขี้เหล็ก ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง
- ผสมลำต้นหวาย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 62.