กระเจียวบัว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma sparganifolia Gagnep.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี ชู้กระเจียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สูง 15 - 30 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 3 - 5 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนถึงแหลม

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนงลดรูป ออกที่ปลายลำต้นเทียม ใบประดับเรียงเวียนซ้อนกันเป็นรูปทรงกระบอก สีชมพูถึงแดง ปลายมีแต้มสีขาวหรือเขียว โคนใบประดับเชื่อมติดกันด้านข้าง มีช่อดอกย่อยในซอกใบประดับ แบบช่อเชิงลด มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากสีขาวแต้มเหลืองและม่วงแกมชมพูเข้ม

ผลแห้งแตก คล้ายทรงกลม เมล็ดมีเนื้อหุ้มเป็นริ้ว สีขาว
ประโยชน์ทางยา
เหง้า ผสมใบหนุมานประสานภาย ต้มน้ำดื่ม แก้หืด
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 60.