งวงชุ่ม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum pilosum Roxb.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
หนองคาย เครือเขามวก
ยโสธร เครือกะแด้ง, งวงสุ่ม
ลำปาง ตีนตั่งตัวแม่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบแกมรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 6 - 18 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว ใบมีขน

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยเป็นช่อกระจุก ยาว 5 - 20 ซม. ใบประดับรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 0.7 - 1 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอ่อนถึงม่วง

ผลแห้ง ทรงกลมรีหรือไข่กลับ มี 5 ปีก กว้าง 2 - 2.2 ซม. ยาว 2.4 - 2.8 ซม. สีเหลืองแกมน้ำตาล

เมล็ดรูปรี ยาว 1 - 1.2 ซม.
ประโยชน์ทางยา
ลำต้นหรือราก ผสมลำต้นหรือรากคำรอก ลำต้นหรือรากเหมือดโลด ลำต้นหรือรากพลองเหมือด และแก่นเหมือดหอม เช่นน้ำหรือฝนดื่ม แก้ไข้หมากไม้หรือไข้พิษ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 58.