ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Coelogyne trinervis Lindl. |
ชื่อวงศ์ |
ORCHIDACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
อุบลราชธานี |
กระต่ายหูเดียว |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปกรวยแคบถึงรูปไข่ ยาวได้ถึง 9 ซม. มีสันตามยาว
ใบเดี่ยว มี 2 ใบ ออกที่ปลายลำลูกกล้วย แผ่นใบรูปรีแคบ กว้างได้ถึง 4 ซม. ยาวได้ถึง 40 ซม. ปลายใบแหลม
ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกที่โคนลำลูกกล้วย ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกย่อยมีได้ถึง 6 ดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมใบหอก กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปแถบ สีขาวอมเขียวยาวประมาณ 2 ซม. กลีบปากมีครีบตามยาว 3 ครีบ มีพูด้านข้างสีน้ำตาล พูกลางสีขาวนวล
ผลแห้งแตก เมล็ดจำนวนมาก |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
ผสมใบต้าง และต้างเล็กทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคตับพิการ |
ลำต้น |
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ฝนน้ำทา รักษาบาดแผล คั้นน้ำหยอดแก้หูน้ำหนวก ผสมหัวกระเทียม ตำทาแก้ฝี
- ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ตำพอก รักษาอาการกระดูกหัก แก้เคล็ดขัดยอก
|
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 57. |
|
|
|