ยางนางต้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocculus laurifolius DC.
ชื่อวงศ์ MENISPERMACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
เลย สะแกดง
นครราชสีมา สุรามะริด
ชัยภูมิ ดีงูต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 6 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอกกลับ กว้าง 3 - 5.5 ซม. ยาว 7 - 15 ซม. ปลายใบแหลมหรือสอบเรียว โคนใบแหลม หรือรูปลิ่ม

ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ช่อแยกเพศ ออกที่ซอกใบ ยาว 0.5 - 4 ซม. ดอกเพศผู้สีเหลือง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น รูปรีกว้าง กลีบดอก 6 กลีบ รูปลิ่ม สีเหลือง ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 6 อัน

ผลสด ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม. มี 1 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 56.