ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Clitoria chanondii W.Chuakul |
ชื่อวงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อย ลำต้นยาวได้ถึง 5 ม.
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับก้านใบยาว 3 - 5 ซม. มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่กว้างถึงรูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4.5 ซม. ปลายใบเกือบกลมถึงกลม เป็นติ่งแหลม โคนใบกลมหรือตัด
ดอกช่อ คล้ายช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย 1 - 2 ดอก ใบประดับเป็นคู่ รูปใบหอกแกมไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปดอกถั่ว ยาว 3 - 3.5 ซม. สีขาว
ผลเป็นฝักแห้งแตก คล้ายทรงกระบอก คอดระหว่างเมล็ด ปลายฝักมีจะงอยยาว เมล็ดรูปขอบขนานแกมไข่ สีน้ำตาลเข้ม มี 4 - 5 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
ขยี้ผสมน้ำทาตามเนื้อตัว แก้ไข้ |
ราก |
ผสมรากออบแอบ ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคไตพิการ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปัสสาวะขัด |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 54. |
|
|
|