เอื้องก้างปลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleisostoma fuerstenbergianum F.Kranzl.
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี กล้วยน้ำไท
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นห้อยลง ยาว 40 - 60 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ บิดเรียงด้านเดียว แผ่นใบเป็นทรงกระบอกตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มม. ยาว 12 - 15 ซม. โค้งเล็กน้อย ปลายใบแหลม

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ยาว 12 - 15 ซม. ห้อยลง มีดอกย่อยหลายดอก ดอกไม่พลิกกลับ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีน้ำตาลคล้ำ กลีบปากสีขาว เส้าเกสรสีเหลือง ดอกกว้างประมาณ 1.2 ซม.

ผลแห้งแตก รูปกรวยหงาย เมล็ดจำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ใบ ผสมลูกใต้ใบทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 53.
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. เอื้องก้างปลา. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562, จาก http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1247