เถาวัลย์ปูน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cissus repanda Vahl.
ชื่อวงศ์ VITACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ เครือเขาคันขาว, น้ำเครือเขา
เชียงราย เครือจุ่มเจ้า
อุตรดิตถ์, สุรินทร์ เถาพันซ้าย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ทอดนอนหรือเกาะเลื้อย มีมือจับ ลำต้นและใบมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจกว้าง กว้าง 7.5 - 15 ซม. ยาว 10 - 20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักมน หยักซี่ฟัน หรือจักฟันเลื่อย ใบอ่อนมีขนสีสนิม

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ใบประดับและใบประดับย่อยมีขนปกคลุม กลีบเลี้ยง 4 - 5 กลีบ กลีบดอก 4 - 5 กลีบ สีแดงคล้ำ ก้านดอกย่อยยาว 2.5 - 12.5 ซม.

ผลทรงไข่กลับ ขนาด 6 มม. เมล็ดรูปผลแพร์ ผิวเรียบ
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ผสมลำต้นตังตุ่น เหง้าสับปะรด ลำต้นเถาคันขาวหรือเถาคันแดง และรากลำเจียก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว
ใบ ขยี้กับปูนทาสมานแผล
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 52.