สิงโตพัดแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cirrhopetalum lepidum (Blume) Schltr.
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี เพชรพระอินทร์, สายไหม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปไข่ เป็นสัน 4 - 5 สัน ยาว 1.5 ซม.

ใบเดี่ยว มี 1 ใบ รูปขอบขนานแคบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวได้ถึง 13 ซม.

ดอกช่อ แบบช่อซี่ร่ม ออกจากโคนลำลูกกล้วย ดอกย่อย 7 - 10 ดอก เรียงแผ่ระนาบเดียวกันคล้ายรูปพัด กลีบเลี้ยงด้านบนและกลีบดอก สีม่วงแดงแกมเขียว ขอบเป็นขนครุย กลีบเลี้ยงคู่ล่างยาวประมาณ 3 ซม. ขอบกลีบด้านในเชื่อมติดกัน โคนกลีบสีชมพูเข้ม ปลายกลีบสีชมพูอ่อนถึงขาว กลีบปากขนาดเล็ก สีน้ำตาลแดงแกมเหลือง

ผลแห้งแตก เมล็ดจำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ตำพอก รักษาอาการบวม ฝนน้ำทา แก้ฝี
ต้มน้ำดื่ม บำรุงตับ รักษาโรคตับพิการ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 50.