หญ้าดอกลำโพง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Centranthera siamensis T.Yamaz.
ชื่อวงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
สุโขทัย ลิ้นงู
อุบลราชธานี การบูรดาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกปีเดียว สูงได้ถึง 50 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีขนสาก

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบใกล้ปลายยอดเรียงสลับ รูปไข่กลับแคบ รูปไข่กลับแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3 - 12 มม. ยาว 1 - 5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักซี่ฟัน มีขนสากทั้งสองด้าน

ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ใบประดับย่อย 2 ใบ รูปเส้นด้าย ยาว 1 - 2 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นกาบปลายเรียวแหลม ยาว 10 - 15 มม. มีขนสากแข็ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด หลอดกลีบดอกยาว 2.5 - 3.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กว้างถึงกึ่งทรงกลม โคนกลีบสีม่วงแดง ปลายกลีบสีม่วงอ่อน

ผลแห้งแตก รูปไข่ ปลายเรียวแหลม ยาว 8 - 10 มม. เมล็ดรูปไข่ จำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น - ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำดื่ม ขับลม
- ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ปรุงเป็นยาลูกกลอนรับประทาน แก้ไข้
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 48.