ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Centranthera cochinchinensis (Lour.) Merr. subsp. lutea (Hara) T.Yamaz. |
ชื่อวงศ์ |
SCROPHULARIACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
อุบลราชธานี |
หญ้าหอนนกเคว, หญ้าดอกหนัก |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุกปีเดียว สูงได้ถึง 70 ซม. ลำต้นตั้งตรง มีขนสากหยาบ
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบใกล้ปลายยอดเรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 2 - 7 มม. ยาว 10 - 60 มม. ปลายใบเกือบแหลม ขอบใบเรียบ มีขนสากหยาบ
ดอกช่อแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง มีใบประดับย่อย 2 ใบที่โคนกลีบเลี้ยง รูปใบหอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด หลอดกลีบดอกยาว 1.5 - 2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน รูปกึ่งทรงกลม สีขาวแกมเหลือง
ผลแห้งแตก รูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. เมล็ดรูปไข่ จำนวนมาก |
ประโยชน์ทางยา |
ทั้งต้น |
ขยี้ผสมน้ำทาศีรษะหรือทำเป็นลูกประคบ แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดศีรษะ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 47. |
|
|
|