มะแตกต้น


ชื่อวิทยาศาสตร์ Casearia flexuosa Craib
ชื่อวงศ์ FLACOURTIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี หมากผ่าสาม
ยโสธร ผ่าสามน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 4 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานถึงใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1 - 5 ซม. ยาว 3 - 15 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบจัก มีขนสีเหลืองทั้งสองด้าน ที่ก้านใบมีขน หูใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ

ดอกช่อ แบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ มี 2 - 3 ดอก ใบประดับรูปไข่ กลีบเลี้ยง 4 - 5 กลีบ รูปขอบขนานแกมไข่กลับ เป็นขนครุย

ผลสด ทรงรีแตกเป็น 3 แฉก กว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. สีเหลือง เมล็ดรูปไข่ สีขาว มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดง มี 3 - 8 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ราก ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ
ต้มน้ำอม แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว
ทั้งต้น ใช้เดี่ยวหรือผสมลำต้นพลับเขา ผลพริกไทย และหัวกระเทียม ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตหลังคลอด
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 46.