หนามพรม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa spinarum L.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ขี้แฮด
ภาคกลาง พรม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้น สูงได้ถึง 5 ม. มียางขาว มีหนามคู่ที่ข้อ

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่กลับหรือรูปทรงกลม กว้าง 0.8 - 4.7 ซม. ยาว 1.4 - 5.5 ซม. ปลายใบเว้าบุ๋มถึงเรียวแหลม โคนใบสอบถึงกลม

ดอกช่อแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 1.4 - 4 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปดอกเข็ม หลอดกลีบดอกยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายเรียวแหลม ยาวประมาณ 1.5 ซม. สีขาว

ผลสด คล้ายทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางยาวได้ถึง 6 ซม. สีม่วงเข้มเกือบดำถึงดำ เมล็ดทรงรี มี 4 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ราก ผสมลำต้นไส้ไก่ ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร ผสมรากไส้ไก่ และรากนมแมว ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงจมูก
แก่น บำรุงกำลัง บำรุงไขมัน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 45.