หนามวัวซัง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis sepiaria L.
ชื่อวงศ์ CAPPARACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
สุโขทัย วัวซัง, หางนกกะลิง
เลย นางนกกี้
ภาคกลาง หนามเกี่ยวไก่
สงขลา ผีไหว้ดาด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2 - 4 ม. มีหนางแหลมโค้งกลับ ยาว 2 - 5 มม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1 - 4 ซม. ยาว 2.5 - 7.5 ซม. ปลายใบมนหรือกลมและเกือบเว้าบุ๋ม โคนใบมนหรือกลม

ดอกช่อ แบบกึ่งช่อซี่ร่ม ออกที่ปลายยอดและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 7 - 15 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนาน กว้าง 1 - 3 มม. ยาว 5 - 7 มม. สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก

ผลสด ทรงกลม ผิวขรุขระ มี 1 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ลำต้น ผสมลำต้นหรือรากลำเจียกและเปลือกต้นชะเอมไทย ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน
ราก ผสมรากส่องฟ้าดง ต้มน้ำดื่ม แก้หลอดลมอักเสบ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 43.