ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Acampe rigida (Buch. - Ham. ex Sm.) P.F.Hunt |
ชื่อวงศ์ |
ORCHIDACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคเหนือ |
เอื้องเจ็ดปอย, เอื้องดอกขาม |
เชียงใหม่ |
เอื้องช้างสารภี, เอื้องตีนเต่า |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
กล้วยไม้อิงอาศัย สูงประมาณ 0.5 ม.
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบกว้างได้ถึง 3.5 ซม. ยาวได้ถึง 20 ซม. ปลายใบหยักเว้าสองข้างไม่เท่ากัน
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ ยาวประมาณ 15 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กลีบดอกที่อยู่ด้านข้างรูปใบหอกกลับแคบกว่ากลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกที่อยู่ด้านข้างสีเหลืองแกมเขียว มีริ้วตามขวางสีน้ำตาลแดง กลีบปากสีขาวประม่วง เดือยรูปทรงกระบอกสั้น
ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 6 - 8 ซม. |
ประโยชน์ทางยา |
ทั้งต้น |
ผสมลำต้นเอื้องกีบม้าใหญ่หรือม้าแตกคอกทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เจริญอาหาร |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 11. |
|
|
|