เอื้องตีนจิ้งจก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Acampe ochracea (Lindl.) Hochr.
ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี พญามือรุ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30 - 76 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 12 - 20 ซม.

ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบยาวเท่ากับหรือยาวกว่าใบเล็กน้อย ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับหรือรูปใบหอก กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกที่อยู่ด้านข้างมีสีเหลืองแต้มสีน้ำตาลแดง กลีบปากสีขาวแกมชมพู เดือยรูปทรงกระบอก

ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก โคนสอบ ยาวประมาณ 5 ซม.
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ผสมลำต้นเอื้องกีบม้าใหญ่หรือม้าแตกคอกทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เจริญอาหาร
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 10.