หญ้าข้าวก่ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Buchnera cruciata Buch. - Ham. ex D.Don
ชื่อวงศ์ SCROPHULARIACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี หญ้าอีก่ำ, หญ้าข้าวก่ำน้อย, หญ้าเพกา, แทนบะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 20 - 80 ซม.

ใบเดี่ยว ใบบริเวณโคนลำต้นเรียงตรงข้ามใบใกล้ปลายยอดเรียงสลับ รูปไข่กลับ ถึงรูปแถบ กว้าง 0.7 - 1.8 ซม. ยาว 1 - 5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เป็นคลื่น หรือหยักซี่ฟัน ผิวใบมีขนสากทั้งสองด้าน ไม่มีก้านใบ

ดอกช่อ คล้ายช่อเชิงลด ยาวได้ถึง 4 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงแน่น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปรีหรือรูปไข่กลับ สีม่วง

ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก เมล็ดจำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้หืด แก้ซางเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้ปวดข้อ บำรุงเส้นเอ็น ผสมหญ้าค้อนกลองทั้งต้น หรือเสน่ห์จันทน์หินทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 39.