หงอนพญานาค


ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia xiphostachya (Gagnep.) Loes.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
นครศรีธรรมราช ปุด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินขนาดเล็ก ลำต้นเทียมอาจสูงได้ถึง 1 ม.

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 14 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม

ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกที่ปลายลำต้นเทียม ช่อดอกแบน ใบประดับเรียงสลับชิดกันแน่นเป็น 2 แถว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก โค้งลง สีขาว เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันคู่ข้างมีลักษณะคล้ายกลีบดอก สีขาว กลีบปากเป็นถุง โค้งลง สีขาว ด้านในมีริ้วสีแดง เกสรเพศผู้ 1 อัน

ผลทรงรี เมล็ดทรงรี สีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจักเป็นชายครุย สีขาว
ประโยชน์ทางยา
เหง้า ทุบแช่น้ำดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ร้อนใน เป็นยาระบาย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 37.