ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bauhinia malabarica Roxb |
ชื่อวงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคเหนือ |
ส้มเสี้ยว |
นครราชสีมา |
เสี้ยวส้ม |
สุพรรณบุรี |
คังโค |
สระบุรี |
แดงโค |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม.
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปกลม กว้างประมาณ 8 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม. ปลายใบแยกเป็นสองแฉก ปลายแฉกกลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบเรียบ
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด ช่อย่อยแบบช่อกระจะสั้น ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 - 5 แฉก กลีบดอกรูปขอบขนานสีขาว ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 10 อัน
ผลเป็นฝักแห้งแตก รูปดาบ แบน ปลายแหลมเป็นจะงอยยาว เมล็ดรูปขอบขนานมี 10 - 30 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
เปลือกต้น |
- ยาพื้นบ้านอีกสานใช้ ผสมรากสามสิบ และรากพังคี ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ตำรายาไทยใช้ ตำทารักษาแผลเปื่อย ห้ามเลือด ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย ฟอกเลือด ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้บิด |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 31. |
|
|
|