ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bauhinia involucellata Kurz |
ชื่อวงศ์ |
FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ มีมือจับ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 5 - 12 ซม. ยาว 6 - 15 ซม. ปลายใบแยกเป็นสองแฉก ปลายแฉกรูปสามเหลี่ยมมน โคนใบรูปหัวใจ
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 - 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมเหลือง รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดถึงรูปไข่แกมรูปหัวใจ มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 3 อัน เกสรเพศผู้ที่ลดรูปมี 7 อัน
ผลเป็นฝักแห้งแตก รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ แบน เมล็ดมีได้ถึง 5 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
ลำต้น |
ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม แก้ฝี |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 30. |
|
|
|