ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Barringtonia acutangula Gaertn |
ชื่อวงศ์ |
LECYTHIDACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคเหนือ |
ตอง, ปุยสาย |
พิษณุโลก |
กระโดนสร้อย |
อุตรดิตถ์ |
ลำไพ่ |
อุบลราชธานี |
จิก |
หนองคาย |
กระโดนทุ่ง, กระโดนน้ำ |
ภาคกลาง |
จิกน้ำ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ชอบขึ้นใกล้น้ำ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2.5 - 7.5 ซม. ยาว 6.5 - 20 ซม. ปลายใบกลมถึงแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยหรือหยักมนถี่
ดอกช่อ แบบช่อกระจะหรือช่อเชิดลด ห้อยลง ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบ ยาวได้ถึง 60 ซม. ดอกสีชมพูหรือแดง บานกลางคืน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีแดงสด
ผลสด รูปไข่กลับ มีสันตามยาว 4 - 8 สัน ส่วนใหญ่มีเมล็ดเดียว |
ประโยชน์ทางยา |
เปลือกต้น |
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ต้มน้ำสำหรับล้างแผล ผสมเปลือกต้นตะเคียนทอง เปลือกต้นพะยอม และเปลือกต้นแคหางค่าง แช่น้ำอาบ แก้ผื่นคัน
- ตำรายาไทยใช้ เบื่อปลา |
เมล็ด |
เป็นยาแก้ลม แก้แน่น ยาแก้ร้อนใน ทำให้อาเจียน |
ใบ |
แก้ท้องร่วง |
ราก |
เป็นยาระบาย |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 29. |
|
|
|