ไส้ปลาไหล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Barclaya longifolia Wall
ชื่อวงศ์ NYMPHAEACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
หนองคาย ลิ้นฟาน
อุบลราชธานี ไส้เอียน, ลิ้นหมา, ผักเพือย, ผักน้ำไหล
ชุมพร การักช้าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้น้ำ มีเหง้า ขึ้นตามธารน้ำไหล

ใบเดี่ยว เรียงสลับอัดแน่นเป็นกระจุก รูปใบหอกแคบแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2 - 5 ซม. ยาว 10 - 30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบบาง ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีชมพูเหลือบ

ดอกเดี่ยว บานเหนือน้ำ ใบประดับ 5 กลีบ รูปใบหอก กลีบรวมชั้นนอกรูปแถบรูปขอบขนาน ด้านในสีเขียวสด ด้านนอกสีม่วงแดง กลีบรวมชั้นในรูปขอบขนานถึงรูปกลม สีขาวนวล มีแถบสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมากติดอยู่บนผนังด้านในของฐานรองดอกรูปถ้วย และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 แถวติดอยู่ที่ตอนบน

ผลสด รูปทรงกลม สีเขียวอ่อน เมล็ดรูปทรงกลม จำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
หัว ต้มน้ำดื่ม แก้ฝีในท้อง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 28.