ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ampelocissus martinii Planch |
ชื่อวงศ์ |
VITACEAE |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
อุบลราชธานี |
กุ่ย |
นครราชสีมา |
เครืออีโกย |
กรุงเทพมหานคร |
เถาเปรี้ยว |
ราชบุรี |
เถาวัลย์ขน |
สระบุรี |
ส้มกุ่ย |
นครศรีธรรมราช |
ส้มออบ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อยมีมือเกาะออกตามข้อ ลำต้นสีน้ำตาลแดง มีขนปกคลุม
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ หยักเว้า 3 - 5 แฉก กว้าง 10 - 13.5 ซม. ยาวประมาณ 12 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักซี่ฟันแหลม ผิวด้านบนเกลี้ยง ผิวด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่มสีแดง ก้านใบมีขน
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาวประมาณ 7.5 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีชมพู กลางดอกสีแดงเข้ม
ผลสด รูปทรงกลม เป็นพวงแน่น เมื่อสุกสีแดงคล้ำ เมล็ดมี 1 - 2 เมล็ด |
ประโยชน์ทางยา |
ราก |
ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ผสมลำต้นหรือราก รสสุคนธ์ เหง้าสับปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกะตังใบ เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรมรากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้ายาหัว และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม แก้ฝี รักษาอาการบวม |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 18. |
|
|
|