ข่าลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia conchigera Griff.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี ข่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 120 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกถึงรูปใบหอกแกมไข่ กว้างได้ถึง 5 ซม. ยาวได้ถึง 25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายลำต้นเทียม ยาวประมาณ 20 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 3 แฉก สีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาวแกมเขียว หลอดกลีบดอกยาวใกล้เคียงกับหลอดกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันคู่ด้านข้างลดรูป เป็นเส้นสีแดง ยาวประมาณ 1.5 มม. กลีบปากรูปไข่กลับ สีขาวแกมชมพูมีลายสีน้ำตาลแดง ผลแห้งแตก รูปทรงกลมหรือเกือบกลม ขนาดประมาณ 8 มม. ผลสุกสีแดง เมล็ดมี 3 - 5 เมล็ด มีกลิ่นหอม
ประโยชน์ทางยา
เหง้า แช่น้ำดื่ม แก้หอบหืด ตำรายาไทยใช้ เหง้า ผลเหง้ารับประทารแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับลมในลำไส้ อุดแก้ปวดฟัน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 17.