พรหมตีนสูง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaonema tenuipes Engl.
ชื่อวงศ์ ARACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
อุบลราชธานี สวรรค์ชั้นแปด
ชัยภูมิ ขันหมากเขียว
ตราด โหรา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ลำต้นตรง สูง 40 - 150 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรีถึงรูปใบหอก กว้าง 5 - 13 ซม. ยาว 15 -25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลดมีกาบ กาบหุ้มช่อดอกสีเขียวแกมเหลือง ช่อดอกรูปทรงกระบอกสั้น ยาว 1.4 - 2.5 ซม. ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ผลสด รูปกระสวย ออกเป็นช่อเบียดกันแน่น สีเขียว เปลี่ยนเป็นเหลืองและแดง เมล็ดมี 1 เมล็ด ทรงรี
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำหนัด
ผล รับประทานสด เป็นยาอายุวัฒนะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 14.