ผักบุ้งทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R.Br.
ชื่อวงศ์ CONVOLVULACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคกลาง ผักบุ้งทะเล
มลายู-นราธิวาส ละบูเลาห์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก มีลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดินได้ยาวมาก มีรากที่ข้อ รากนั้นเป็นรากแก้วใหญ่ ลำต้นเป็นสันเกลี้ยงสีเขียวปนแดง และมียางขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว มักแตกออกจากลำต้นด้านเดียว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปไข่กลับหรือรูปไต ปลายใบจักเป็นแฉกลึกถึงกิ่งกลางใบ ปลายแฉกกลม โคนใบสอบแคบเป็นรูปหัวใจหรือสอบเรียวไปยังก้านใบ เนื้อใบหนา ผิวเป็นมัน และกรอบน้ำ แผ่นใบเรียบสีเขียว ก้านใบยาวสีแดง

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 4 - 6 ดอก ก้านช่อยาวแข็งเป็นเหลี่ยมหรือแบน ใบประดับรูปหอกแกมรูปไข่ หลุดร่วงง่าย กลีบรองกลีบดอกชั้นนอกรูปไข่หรือรูปรี กลีบรองกลีบดอกชั้นในรูปกลม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยง สีชมพูหรือสีม่วงอมแดงหรือสีม่วง ที่โคนด้านในสีเข้มกว่า

ผล ลักษณะรูปทรงกลมหรือรูปมนรี เล็ก ผิวเรียบ ผลแห้งแตกออกได้

เมล็ด มี 4 เมล็ด สีดำ และมีขนสีดำหนาแน่น ปกคลุมอยู่รอบๆ เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสขื่นเย็น ใช้ทาภายนอกแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อาการจุกเสียด น้ำต้มใช้ล้างแผล น้ำคั้นต้มกับน้ำมันมะพร้าวทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลทุกชนิดและแผลเรื้อรัง ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง
ทั้งต้น รสขื่นเย็น ถอนพิษลมเพลมพัด เป็นยาสมาน เจริญอาหาร ต้มอาบแก้อาการผื่นคันตามผิวหนัง น้ำคันแก้พิษแมงกะพรุน
เมล็ด รสขื่น แก้ตะคริว แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย
ราก รสขื่นเย็น ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผด ผื่นคันที่มีน้ำเหลือง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 279.