ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gynura pseudochina (L.) DC. var. hispida Thwaites |
ชื่อวงศ์ |
ASTERACEAE (COMPOSITAE) |
ชื่อสามัญ |
|
ชื่ออื่นๆ |
ภาคกลาง |
ดาวเรือง, ว่านมหากาฬ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทดไปตามดิน มีหัวใต้ดิน เนื้อในหัวสีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น ลักษณะใบรูปใบหอกกลับ ขอบใบหยักลักษณะต่างๆ โดยรอบคล้ายกับใบเหงือกปลาหมอ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขน เส้นใบเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอดลักษณะเป็นกระจุกสีเหลืองเล็กๆ เป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง ชูก้านสูงขึ้นจากพื้นดิน
ผล เป็นผลแห้งไม่แตก |
ประโยชน์ทางยา |
ใบ |
รสเย็น โขลกผสมกับสุราพอกดับพิษฝี หรือพอกหัวลำมะลอก ทำให้ถอนพิษแก้ปวดแสบปวดร้อน |
หัวใต้ดิน |
รสเย็น รับประทานดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้ไข้พิษ เซื่องซึม ระส่ำระสาย แก้พิษอักเสบ |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 267. |
|
|
|