อ้อยดำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum L.
ชื่อวงศ์ GELSEMIACEAE
ชื่อสามัญ Sugar cane
ชื่ออื่นๆ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน กะที
ภาคกลาง อ้อยแดง, อ้อยขม, อ้อยดำ
ทั่วไป อ้อย
เขมร อำโป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้จำพวกหญ้าหรือกก ลักษณะล้มลุกขึ้นเป็นกอ แทงหน่อออกทางด้านข้างของต้นเดิม สูงประมาณ 2 - 5 เมตร ลำต้นเป็นปล้องๆ ผิวนอกแข็งสีแดงเป็นมัน รูปทรงกระบอก เนื้อในสีขาวฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ตามข้อมีตาพร้อมที่จะเป็นต้นใหม่ ตามข้อแต่ละข้อมักมีรากอากาศประปราย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแคบๆ แต่ยาว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบจะเป็นกาบหุ้มลำต้นติดแน่นอยู่บริเวณข้อแต่ละข้อ และออกสลับเวียนกันขึ้นไป เนื้อใบมีขนสาก ขอบใบจักถี่เป็นหนามคม เส้นกลางใบใหญ่เป็นสีขาวมีขน มีกระดูกก้านและห่อเป็นรูปรางน้ำ

ดอก ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ยาวสีขาว ออกที่ปลายสุดของลำต้น จะออกดอกเมื่อต้นแก่เต็มที่ มีเมล็ดแหลมมาก รอบโคนเมล็ดจะมีปุยสีขาวเป็นมันหุ้มและปุยนี้จะช่วยพยุงให้เมล็ดปลิวไปได้ไกลๆ มักจะออกดอกในฤดูหนาว

ผล เป็นผลแห้ง ขนาดเล็ก
ประโยชน์ทางยา
ทั้งต้น รสหวานขม แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา แก้ช้ำรั่ว แก้โรคนิ่ว แก้ไอ
ลำต้น รสหวานขม แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง บำรุงธาตุน้ำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ
เปลือก รสหวานขม ใช้สำหรับภายนอกโดยการเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทารักษาโรคปากเป็นแผลเนื่องจากขาดธาตุอาหาร แผลบวมเป็นตุ่มและแผลกดทับ
ราก รสหวานจืด ใช้รักษาไส้ใหญ่แตกพิการ ทำให้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ทำให้เจ็บหลัง เจ็บเอว ทำให้หาวเรอ
ตาอ้อย รสขมหวาน แก้พิษตานซาง แก้ตัวร้อน
ชานอ้อย รสหวานจืด แก้แผลเรื้อรัง แก้ฝีอักเสบบวม
น้ำอ้อย รสหวาน รักษาโรคนิ่ว บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่นในลำคอ แก้เสมหะ แก้หืด ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 220.