กำยาน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Styrax benzoin Dry., S. apricus Fletch., S. benzoides Craib.
ชื่อวงศ์ STYRACACEAE
ชื่อสามัญ Sumastra Benzoin
ชื่ออื่นๆ
กำยานสุมาตรา
เชียงใหม่ กำยาน, เขว้, เซพอบอ, เส้พ่อบอ
นครพนม ซาดสมิง
สุรินทร์ สะด่าน
ศรีสะเกษ เกลือตานตุ๋น
นราธิวาส กำมะแย
ยโสธร ประดงแดง
อุบลราชธานี ซางควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงใหญ่ สูง 10 - 20 ม. ลำต้นเปลา เปลือกของต้นมีสีเทา หรือสีหม่น กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ตามกิ่งพบกลุ่มปุ่มหูดรูปเคียว

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 3 - 6 ซม. ยาว 5 - 15 ซม. ยาวเรียว ขอบหยักเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ใบมีขน

ดอกออกเป็นกระจุก หรือเป็นช่อ ออกที่ซอกใบและปลายยอด มีสีชมพูถึงแดง หรือมีสีขาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้สีเหลือง

ผลแห้ง ทรงกลมหรือแป้น เมื่อแก่แตกเป็น 3 ซีก มีเมล็ดเดียว สีน้ำตาล
ประโยชน์ทางยา
ยาง ได้จากลำต้น หรือเปลือก ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อ ยางมีกลิ่นหอมใช้บำรุงเส้น แก้ลม แก้นิ่ว สมานแผล ดับกลิ่นเน่าเหม็น
ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว
แก่นหรือเปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม รักษาโรคไตพิการ
เปลือกต้น แก้ไข้ ระงับปวด ตำพอก ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ต้มน้ำดื่ม บำรุงประสาท
ราก ผสมรากหัสคุณ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้มาลาเรีย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2539). เภสัชเวทกับตำรายาแผนโบราณ. หน้า 104.
มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. (2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 154.