ผักคราด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Acmella oleracea (L.) R.K. Jansen
ชื่อวงศ์ ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ชื่อสามัญ Para cress
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ ผักคราด, ผักเผ็ด
จีน อึ้งฮวยเกี้ย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 25 - 40 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาและปลายยขอดตั้ง มีขน ลำต้นสีเขียวปนสีม่วงแดง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน หรือสอบแคบ ขอบใบเรียบหรือจักเป็นฟันเลื่อยหยาบๆ เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนใบ แผ่นใบสีเขียว มีขนประปรายทั้งสองด้าน

ดอก ออกดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะรูปกรวยคว่ำสีเหลืองอ่อน ก้านดอกเรียว ริ้วประดับมี 2 ชั้น ลักษณะรูปหอกแกมรูปไข่ ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 1 วง กลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปท่อ

ผล ลักษณะของผลรูปไข่ เป็นสัน มี 3 สัน ปลายเว้าเป็นแอ่งเล็กน้อย มีรยางค์เป็นหนาม 1 - 2 อัน และเป็นผลแห้ง
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเอียนเบื่อ แก้ปวดฟัน แก้ปวดศึรษะ รักษาแผล มีฤทธิ์เป็นยาชา
ดอก รสเอียนเบื่อ แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ เป็นยากระตุ้น ขับน้ำลาย รักษาแผลในปาก
ลำต้น รสเอียนเบื่อ แก้พิษตานซาง แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ฝีในคอ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ริดสีดวง
ทั้งต้น รสเอียนเบื่อ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไข้คอตีบตัน แก้ซาง แก้คัน รักษาริดสีดวงทวาร แก้เริม แก้พิษงูกัด ใช้ทาแผลรักษาโรคผิวหนัง ชงดื่มเป็นยาขับปัสสาวะในรายที่เป็นนิ่ว
ราก รสเอียดเบื่อ แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ แก้คัน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 184.