ข่อย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Siamese rough bush, Tooth brush tree
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ กักไม้ฝอย
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ซะโยเส่
กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี ตองขะแหน่
เลย ส้มพอ
เขมร สะนาย
ทั่วไป ข่อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปมหรือผิวขรุขระเล็กน้อย เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปทรงกระบอกทึบ ลำต้นสีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเล็กและหนากรอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบจะสากระคายคล้ายกับกระดาษทราย

ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกเพศผู้จะรวมกันเป็นช่อดอกแบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบขาว ส่วนดอกเพศเมียนั้นก้านดอกจะยาวและมักออกเป็นคู่สีเขียว

ผล ลักษณะรูปทรงกลมคล้ายกับเมล็ดพริกไทย สีขาวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในเป็นเส้นใยสีขาวและมียางสีขาวซึมออกมาเมื่อถูกตัด เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อนใส

เมล็ด เป็นเมล็ดเดี่ยว กลมและแข็ง
ประโยชน์ทางยา
ใบสด รสเมาเฝื่อน ย่างไฟพอเหลืองและกรอบ ชงน้ำดื่มทำให้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
เมล็ด รสเมามันร้อน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร
เปลือกต้น รสเมาฝาดขม แก้อาการท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้ รักษารำมะนาด รักษาแผล ดับพิษในกระดูกและเส้นเอ็น แก้โรคผิวหนัง หุงเป็นน้ำมันทาริดสีดวง
ราก รสเมาฝาดขม ใช้เป็นยาใส่แผล
เปลือกราก รสเมาขม เป็นยาบำรุงหัวใจ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 180.