เล็บมือนาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ Drunken sailor, Rangoon creeper
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ จะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ไท้หม่อง
ภาคกลาง, ภาคใต้ เล็บมือนาง
มลายู-ยะลา อะดอนิ่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา ขนาดกลาง ประเภทเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีลำต้นเป็นเถาใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเปลือกเถามีสีน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขา หนาทึบ และตามลำต้นหรือกิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ตามข้อของลำต้น ลักษณะใบรูปหอกหรือรูปมนขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งหนาม โคนใบจักเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบบาง สีเขียว บริเวณท้องใบมีขนละเอียดปกคลุมอยู่จำนวนมาก ใบอ่อนสีเขียวอมแดง

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของดอกจะเป็นหลอดยาวเล็กๆ เหมือนดอกเข็ม ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ เมื่อเริ่มออกดอกมีสีขาว พอดอกเริ่มแก่หรือแก่จัดแล้วก็เปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือสีแดงอมขาว มีกลิ่นหอม

ผล ลักษณะผลเป็นสัน และแข็ง รูปกระสวย สีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเอียนเบื่อ โขลกพอกบาด แก้อักเสบ แก้ฝี ผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาแก้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ทั้งต้น รสเมาเบื่อสุขุม แก้ตานขโมย ขับพยาธิ และตานซาง แก้ไอ
ผล รสเมาเบื่อ แก้อุจจาระเป็นฟองเหม็นคาวในเด็ก ขับพยาธิไส้เดือน
เมล็ด รสเมาเบื่อ เป็นยาขับพยาธิตัวกลมในเด็ก เป็นยาถ่าย แก้ไข้วิงเวียนศีรษะ แช่น้ำมันรักษาโรคผิวหนัง แผล ฝี และใช้รักษาโรคเอดส์
ราก รสเมาเบื่อสุขุม แก้อุจจาระเป็นฟอง เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน แก้พิษตานซาง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 172.