มะเกลือ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
ชื่อสามัญ Ebony tree
ชื่ออื่นๆ
เงี้ยว-ภาคเหนือ ผีเผา
ทั่วไป มะเกลือ
เขมร-ตราด มักเกลือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 - 25 เมตร กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกต้นสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ หรือเป็นร่องทั่วลำต้น เปลือกในสีเหลือง กะพี้สีขาว ถ้าทิ้งไว้นานจะเปลื่ยนเป็นสีค่อนข้างดำ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ออกเรียงสลับกัน ลักษณะรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบมนหรือกลม ปลายใบสอบทู่หรือสอบเรียว เนื้อใบบาง ใบอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน เส้นใบค่อนข้างคดไปคดมา และเหยียดชี้ไปทางปลายใบ ใบแห้งออกสีดำ

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ ช่อหนึ่งๆ มีประมาณ 3 ดอก โคนกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนโคนกลีบกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ มีขนนุ่มทั่วไป กลีบรองดอกและกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่า

ผล ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวของผลเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีเปลือกเป็นสีเขียว ผลแก่จัดแห้ง เปลือกเปราะและออกสีดำสนิท กลีบจุกผลมี 4 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันประมาณครึ่งหนึ่ง มีขนนุ่มทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง กลีบพับกลับ ขอบและพื้นกลีบเรียบ

เมล็ด ถ้าผ่าตามขวางจะเห็นว่าระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อขาวๆ ของเมล็ดนั้นเรียบ
ประโยชน์ทางยา
ผล รสขื่นเฝื่อนฝาด เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน แก้พิษตานซาง ถ่ายพยาธิตัวตืด ถ่ายพยาธิเส้นด้าย ถ่ายพยาธิทุกชนิด แก้ไอ แก้น้ำกัดเท้า
เมล็ด รสเมามัน เป็นยาถ่ายพยาธิอื่นๆ ถ่ายพยาธิไส้เดือน ถ่ายพยาธิตัวตืด
ทั้งต้น รสฝาดเมา เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ตานซาง ถ่ายพยาธิไส้เดือน แก้กระษัย
แก่น รสฝาดเค็มขมเมา เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้ แก้ตานซาง
ราก รสเมาเบื่อ เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้โรคกระษัย แก้ลม แก้ริดสีดวงทวาร แก้อาเจียน
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 164.