ยอบ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia L.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ชื่อสามัญ Noni, Indian mulberry
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ มะตาเสือ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน แยใหญ่
ภาคกลาง ยอ, ยอบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 - 6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุด กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบตรงข้ามกันเป็นคู่ตามข้อต้น ลักษณะใบรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเขียวอ่อนปนขาว มองเห็นชัดเจน ก้านใบสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กแบบสมมาตรตามรัศมี เป็นรูปดอกเข็ม มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีกลิ่นหอม

ผล เป็นผลรวม คือผลที่เกิดจากช่อดอกซึ่งเบียดกันแน่น ลักษณะรูปทรงกลมหรือรี มีตาหรือตุ่มรอบๆ ผล ผลอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะมีสีเหลืองหรือขาวนวล มีกลิ่นฉุน

เมล็ด มีเมล็ดสีน้ำตาลไหม้ จำนวนมาก
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสขมเฝื่อน คั้นเอาน้ำสระผมแก้เหา ทาแก้ปวดตามข้อของนิ้วมือนิ้วเท้า ทาแก้โรคเก๊า ใช้เป็นยาแก้อาเจียน, ใบสดย่างไฟ หรือปรุงเป็นยาประคบ แก้ปวดบวม อักเสบ หรือต้มดื่มบำรุงธาตุ และแก้ไข้ แก้กระษัย
ต้น รสเฝื่อน ใช้ร่วมกับสมุนอื่น หรือปรุงเป็นยารักษาวัณโรค
ดอก รสเฝื่อน ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น หรือปรุงเป็นยารักษาวัณโรค
ผลหรือลูก รสเผ็ดร้อน ใช้ผลยอดิบที่โตเต็มที่ตากแห้ง บดเป็นผง 20 กรัม ชงในน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที กรองใส่กระติกไว้ดื่มแทนน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรีย ครั้งละ 30 ซีซี ทุก 2 ชั่วโมง, ใช้ผลดิบหรือผลห่ามระงับหรือแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ผลดี แก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา แก้เสียงแหบแห้ง แก้อาเจียน ข่วยขับลม ขับโลหิตระดู แก้กระษัย แก้ตัวเย็น แก้ร้อนในอก
ราก รสเฝื่อน เป็นยาระบาย ผสมกกับตัวยาอื่น รักษาวัณโรค แก้กระษัย
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 156.