สีเสียดเหนือ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu (L.f.) Willd.
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ชื่อสามัญ Catechu tree, Cutch tree
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ สีเสียด, ขี้เสียด
เชียงใหม่ สีเสียดเหลือง
เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน สะเจ
ภาคกลาง สีเสียดเหนือ
ราชบุรี สีเสียดแก่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดย่อมถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ตามลำดับและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป เปลือกต้นสีเทาคล้ำหรือสีเทาอมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ผิวเปลือกแตกลอกออกเป็นแผ่นยาวๆ เปลือกในสีแดง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ลักษณะใบรูปขอบขนานปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบเรียบ สีเขียวมีขนขึ้นประปราย ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดเล็กเป็นฝอยแบบใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบออกตรงข้ามกัน 10 - 20 คู่

ดอก ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด 1 - 3 ช่อ สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลืองเป็นพู่ และมีจำนวนมาก ไม่มีก้านดอก ออกบนช่อยาวคล้ายหางกระรอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนมี 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรเป็นเส้นเล็กสีขาว

ผล เป็นฝักรูปบรรทัด แบน ยาว ตรงหัวท้ายเรียวแหลม ฝักแก่สีน้ำตาลคล้ำเป็นมัน แตกอ้าออกตามรอยตะเข็บด้านข้าง

เมล็ด แบนสีน้ำตาลอมเขียว เป็นมัน ฝักหนึ่งมี 3 - 7 เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
กิ่ง ใบ รสฝาด ใช้สำหรับรักษาโรคเอดส์
แก่น รสฝาด มีฤทธิ์สมาน แก้ท้องเดิน
เมล็ด รสฝาด ฝนเป็นยาทาแก้โรคหิด
เปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิด ธาตุพิการ แก้ท้องเดิน ใช้รักษาโรคผิวหนังและรักษาบาดแผล
ก้อนสีเสียด รสฝาดจัด บดหรือต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ทารักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 150.