น้อยโหน่ง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona reticulata L.
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่อสามัญ Custard apple, Bull’s heart, Bullock’s heart, Ox-heart, Wild-Sweetsop
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และเชื่อว่าได้มีการนำเข้ามาในไทยในสมัยอยุธยา โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูงของลำต้นประมาณ 5-8 เมตร เปลือกต้นแก่มีสีเทา ส่วนลักษณะของใบน้อยโหน่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ โคนใบแหลม ใบสีเขียวสด ดอกน้อยโหน่ง ลักษณะของดอกน้อยโหน่งจะคล้าย ๆ กับดอกน้อยหน่า ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกค่อนข้างหนา มีกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว และดอกมีกลิ่นหอมแบบเอียน ๆ ผลน้อยโหน่ง ขนาดของผลจะมีขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า ผลรูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว ไม่มีตาโปนออกมาตามเปลือกเหมือนน้อยหน่า ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจาง ๆ ปนแดงเรื่อ ๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงอมน้ำตาลเข้ม เนื้อข้างในผลหนามีสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก และมีรสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า โดยน้อยโหน่งจะได้รับความนิยมในการรับประทานน้อยกว่าน้อยหน่า เนื่องจากผลน้อยโหน่งมีกลิ่นฉุนนั่นเอง
ประโยชน์ทางยา
ผล ใช้รับประทานเป็นผลไม้ มีรสหวานมัน แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้โรคซาง แก้ลมจุกเสียด แก้พยาธิในท้องและพยาธิผิวหนัง
ราก แก้เหงือกบวม
เปลือกต้น แก้บิดท้องเสีย
ใบ ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้ฟกบวม
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

น้อยโหน่ง, ต้น

น้อยโหน่ง, หน้าใบ
 
น้อยโหน่ง, หลังใบ
 

น้อยโหน่ง, ใบ

น้อยโหน่ง, ดอก
 
น้อยโหน่ง, ผล
 

น้อยโหน่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 1

น้อยโหน่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 
น้อยโหน่ง, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
เอกสารอ้างอิง
น้อยโหน่ง. (2559). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://medthai.com/%E0%B8%99%E0%B9 %89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88% E0%B8%87/
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (มปป.)น้อยโหน่ง. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/2013-10-26-10-11-55/9- uncategorised/81-2013-11-17-07-27-06