ชุมเห็ดไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna tora (L.) Roxb.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
ชื่อสามัญ Foetid Cassia
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชุมเห็ดไทย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ต้นมีความสูงประมาณ 0.3-1.3 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นสีเขียวอมสีน้ำตาลแดง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นทรงพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีขนอ่อนปกคลุมอยู่เต็มไปหมด มักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 คู่ ตรงกลางใบย่อยที่ติดเชื่อมกันนั้นจะพบว่ามีตุ่มตารองน้ำ 1 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนและมีติ่งหนาม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.19-2.69 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.27-5.17 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเนียนไม่มีขน ท้องใบมีขนละเอียดอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่หนาแน่น ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ก้านใบมีร่องลึก ก้านใบยาวประมาณ 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน มีหูใบแบบเข็มแหลมสีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 2.71-4.03 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 2-4 ดอก ดอกเป็นสีเหลืองสด มีกลีบดอก 5 ดอก และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอีก 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน และมีรังไข่เป็นเส้นยาวงอโค้งเล็กน้อยและมีขนปกคลุม ส่วนปลายเกสรเพศเมียจะเป็นตุ่มสั้นๆ ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนปกคลุม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน ผล ออกผลเป็นฝักยาวโค้งเล็กน้อย ฝักจะแบนทั้งสองด้าน ฝักมีความยาวประมาณ 15-24 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และปกคลุมไปด้วยขนอ่อนนุ่มสั้นๆ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 20-30 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเหลือง สีน้ำตาลหรือสีเขียวอมเทา ผิวเมล็ดเรียบ เงาเป็นมัน เมล็ดมีลักษณะแข็งและแบน หน้าตัดเฉียงเป็นรูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน
ประโยชน์ทางยา
เมล็ด รสขมเมา เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ไอ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงประสาท เป็นยาระงับประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้กระษัย แก้ตาแดง ตามัว แก้ตับอักเสบ ตับแข็ง บำรุงกำลัง ลดความดันเลือดชั่วคราว บดผสมน้ำมันพืชทาแก้หิด กลากเกลื้อน ใช้เมล็ด คั่วชงน้ำดื่ม บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ทำให้หลับสบาย ขับปัสสาวะ แต่ห้ามใช้นานๆเพราะจะทำให้ตามัว
ต้น มีรสเมา แก้ไข้ ขับพยาธิในท้อง แก้ไข้หวัด กล่อมตับ ทำให้ตาสว่าง
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

ชุมเห็ดไทย, ต้น

ชุมเห็ดไทย, ลำต้น
 
ชุมเห็ดไทย, ใบ
 

ชุมเห็ดไทย, ดอก

ชุมเห็ดไทย, ผล
 
ชุมเห็ดไทย, herbarium ตัวอย่างที่ 1
 

ชุมเห็ดไทย, herbarium ตัวอย่างที่ 2

ชุมเห็ดไทย, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
 
เอกสารอ้างอิง
ชุมเห็ดไทย. (2554). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จากhttp://www.samunpri.com/%E0%B8%8A%E0 %B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%8 4%E0%B8%97%E0%B8%A2/