กระเจียว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma sessilis Gage.
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ อาวแดง
เลย กาเตียว
ชุมพร, สงขลา จวด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินอยู่ได้หลายปี สูง 40 - 60 เซนติเมตร อาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นรวมกันเป็นกอ สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร

ใบเป็นกาบห่อรวมตัวกันแน่นเป็นลำต้นเทียม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ฐานใบแหลม เส้นใบขนาน ยาว 30 - 40 เซนติเมตร กว้าง 15 - 20 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม แผ่นใบเรียบสีเขียว ก้านใบยาว

ดอกออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงลด รูปทรงกระบอก ยาว 10 - 20 เซนติเมตร ก้านช่อดอกชูออกจากปลายลำต้นเทียม ช่อดอกย่อย แต่ละช่อมีดอก 2 - 7 ดอก ใบประดับที่โคนช่อดอกรองรับดอกสีเขียว ดอกสีเหลือง หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 1 - 2 เซนติเมตร มีขน แฉกบนรูปรี แฉกข้างแคบกว่าเล็กน้อย กลีบปากรูปไข่กลับ สีเหลือง ปลายแยกเป็น 2 พู เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปไข่กลับหรือรูปรี สีเหลือง มีขนสั้น เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ มีจุดสีแดงจำนวนมาก โคนอับเรณู เรียวแหลมเป็นเดือย 2 อัน โค้งเข้าหากัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ มีขนสั้นหนาแน่น

ผลรูปไข่ ผิวมีขนหนาแน่น เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหยดน้ำยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ประโยชน์ทางยา
ดอกอ่อน มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และลดกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยทำให้รู้สึกสบายท้องและช่วยให้สุขภาพดี
ดอก มีสรรพคุณช่วยแก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
หน่ออ่อน ใช้เป็นยาสมานแผล
เหง้า ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย
ใบ ตำคั้นน้ำรักษาแผล ห้ามเลือด
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

กระเจียว, ต้น

กระเจียว, หน้าใบ
 
กระเจียว, หลังใบ
 

กระเจียว, ช่อดอก

กระเจียว, ใบประดับ
 
กระเจียว, ดอก
 

กระเจียว, herbarium ตัวอย่างที่ 1

กระเจียว, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 
กระเจียว, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
เอกสารอ้างอิง
Medthai.com. 8 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระเจียวแดง. กรุงเทพฯ: [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/กระเจียวแดง/
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 30.