หางไหลแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris elliptica (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE (PAPILIONIODEAE)
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นเถาเลื้อย เถาอ่อนมีสีเขียว และสีน้ำตาลปนแดงเมื่อเถาแก่ และจะสีเขียวที่เห็นชัดบริเวณปล้องก่อนถึงยอด 2-3 ปล้อง สำหรับเถาแก่ ใบเป็นใบประกอบ เหมือนขนนกปลายถี่ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน และเป็นสีเขียวแก่เมื่ออายุใบมากขึ้น ใบจะแตกออกเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรกมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นตามลำดับ โดยมีใบสุดท้ายบริเวณยอดใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่สุด ใบย่อย กว้างประมาณ 3.0-9.5เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.5-27.0 เซนติเมตร ใบอ่อนบริเวณยอดจะปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลปนแดง พื้นใบด้านบนสีเขียว มีลักษณะมัน มีเส้นแขนงใบคล้ายก้างปลาอย่างเห็นได้ชัด ด้านท้องใบมีสีเขียว และเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน ดอกจะออกเป็นช่อตามลำต้น ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานจะมีสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่ออายุดอกมากขึ้น ผลออกเป็นฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว และสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ และจะปริแตกเมื่อฝักแห้ง ฝักมีลักษณะแบน ภายในประกอบด้วยเมล็ดลักษณะกลมแบนเล็กน้อย
ประโยชน์ทางยา
ราก นำมาทุบแล้วแช่น้ำใช้เป็นยาเบื่อปลา
ลำต้น ทุบแล้วนำไปแช่ไว้ในลำห้วย จะทำให้ปลาเมา สามารถจับมากินได้ง่าย
เถา ผสมกับยาอื่นๆ สำหรับเป็นยาขับประจำเดือนสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน นอกจากนี้ยังใช้เถาหางไหล หั่นเป็นชิ้นตากแห้ง และนำมาดองสุรารับประทาน สำหรับเป็นยาขับลม บำรุงโลหิต และยาลดเสมหะ
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ

หางไหลแดง, ต้น

หางไหลแดง, หน้าใบ
 
หางไหลแดง, หลังใบ
 

หางไหลแดง, herbarium ตัวอย่างที่ 1

หางไหลแดง, herbarium ตัวอย่างที่ 2
 
หางไหลแดง, herbarium ตัวอย่างที่ 3
 
เอกสารอ้างอิง
Eherb.hrdi.or.th. Tuba root, Derris. เชียงใหม่; โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง: [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=398&name=Tuba%20root,%20Derris%20&txtSearch=&sltSearch=
Puechkaset.com. หางไหล/โล่ติ๊น และสรรพคุณหางไหล. [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://puechkaset.com/หางไหล/