ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Vernonia cinerea (L.) Less. |
ชื่อวงศ์ |
Notice: Undefined variable: nfName in /home/kawin/suweb/herbmed/herb/text/herb_detail.php on line 109
|
ชื่อสามัญ |
Little ironweed, Ash-coloured fleabane, Ash-coloured ironweed |
ชื่ออื่นๆ |
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุได้ประมาณ 1-5 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 20-80 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านน้อย กิ่งและก้านเรียว มีลักษณะเป็นร่องและมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม มีลายเส้นนูนขึ้นตามข้อ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน รูปแถบ หรือรูปใบหอก ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตร หลังใบมีเส้นใบชัดเจน มีสีเขียวเข้ม มีขนทั้งสองด้าน
ดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 20 ดอก มีใบประดับลักษณะเป็นรูปคล้ายระฆัง 4 ชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของดอกย่อยเป็นหลอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกเป็นสีม่วงอ่อนอมสีแดง สีม่วง หรือสีชมพู เมื่อดอกบานเต็มที่สีดอกจะจางลง พอกดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อดอกร่วงโรยแล้วจะเห็นผลเป็นรูปทรงกระบอก
ผลชนิดผลแห้งเมล็ดล่อน มีเมล็ดเดียว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแคบสีน้ำตาลเข้ม เปลือกแข็งและแห้งไม่แตก ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ด้านบนมีขนสีขาวปกคลุม ผลเป็นพู่แตกบาน ช่วยทำให้เมล็ดลอยไปตามลมได้
|
ประโยชน์ทางยา |
ต้น |
ใช้ลำต้นแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ปวดท้อง ท้องเฟ้อ ท้องขึ้น แผลบวมอักเสบ ความดันโลหิตสูง หรือใช้ตำให้ละเอียดเอามาพอกแก้นมคัด ดูดหนองแก้บวม หรือคั้นเอาน้ำจากลำต้นกินแก้บิด ท้องเสีย และแก้ริดสีดวงทวาร |
ใบ |
ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแผลช่วยสมาน พอกแก้ปวดหัว แก้กลากเกลื้อน ขี้เรื้อนกวาง เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง ประมาณ 2-4 กรัม นำมาป่นให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อนกิน เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ปัสสาวะขัด ท้องอืด แก้ไอ บำรุงธาตุ โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคผิวหนังด่างขาว และเป็นยาแก้พิษ |
ราก |
ใช้รากสด 30-60 กรัม (แห้ง 15-30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้ไอเรื้อรัง ช่วยเร่งคลอด และขับรกหลังคลอด |
|
DNA barcode |
ตัวอย่าง
|
รูปภาพ |
|
เอกสารอ้างอิง |
หญ้าดอกขาว. (2559). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก https://medthai.com/%E0%B8%AB%
E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81
%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7/
|
|
|
|