มะรุม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa olefera lamk.
ชื่อวงศ์ MORINGACEAE
ชื่อสามัญ
ชื่ออื่นๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น - ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร
ใบ - ใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 เซนติเมตร ออกเรียงแบบสลับใบย่อยยาว 1 - 3 เซนติเมตร รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวในด้านล่างสีอ่อนกว่า และมีขนเล็กน้อย
ดอก - เป็นดอกช่อสีขาว ออกที่ซอกวง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ
ผล - เป็นฝักยาว เปลือกสีเขียว มีส่วนดอกและส่วนมน เป็นระยะๆ ตามความยาวของฝัก เป็นฝักเหลี่ยม ฝักยาว 20 - 50 เซนติเมตร
ประโยชน์ทางยา
ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือกจากลำต้นมีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบแก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตก อมไว้ข้างแก้ม เมื่อรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา กระพี้ แก้ไข้สันนิบาตเพื่อลม
ใบ - ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมน้ำตาลได้
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ยังช่วยให้คนทั่วๆ ไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
- ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ประสบผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกา
- ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
- ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
- รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอจะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
- รักษาโรคลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
- รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ เป็นยาปฏิชีวนะ
- ชะลอความแก่ กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากในใบมะรุม มีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (Rutin และ Quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (Lutein และ Caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
- การป้องกันมะเร็ง สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
- ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล ในประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดในหนูที่กินอาหารไขมันสูง มีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย ฝักรสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้
เมล็ด นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคข้อเสื่อม รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวใช้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
ภญ.อัจฉรา แหลงทอง. สมุนไพรใกล้ตัว. หน้า 26.