มะคำดีควาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sapindus emarginatus Wall.
ชื่อพ้อง Sapindus rarak DC.
ชื่อวงศ์ SAPINDACEAE
ชื่อสามัญ Soap nut tree
ชื่ออื่นๆ
ภาคเหนือ มะซัก, ส้มป่อยเทศ
กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ชะแซ, ซะเหล่เด
ภาคกลาง, ภาคใต้ ประคำดีควาย, มะคำดีควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ตามส่วนต่างๆ ของลำต้นเกลี้ยงไม่มีขน เปลือกสีน้ำตาลอมเทาค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตามแนวยาวของลำต้น

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2 - 4 ใบ ลักษณะใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ค่อนข้างหนา เกลี้ยง โคนใบสอบเข้าหากันและมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบสีจาง ใบมีสีเขียวคล้ายๆ กับใบทองหลาง

ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเล็กสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อนๆ ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมีแขนงช่อย่อยมาตามส่วนต่างๆ ของช่อ และด้านนอกองกลีบรองดอกมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลแดงทั่วไป กลีบรองกลีบดอกมี 4 กลีบเล็กๆ โคนกลีบติดกันเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล ลักษณะรูปทรงค่อนข้างกลม รวมกันเป็นพวงโตๆ ผิวเรียบหรือมีรอยย่นที่ขั้วผล ผลสดสีเขียวแกมส้ม เมื่อสุกกลายเป็นสีดำ ภายในมีมีเมล็ดกลมสีดำ มีเปลือกแข็งหุ้ม เป็นเมล็ดเดี่ยว
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเฝื่อนขม แก้ทุราวะสา (อาการที่น้ำปัสสาวะผิดปกติ) แก้พิษกาฬ
ผล รสขม แก้ไข้ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้เลือด แก้หอบ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้รังแค
เมล็ด รสเฝื่อนขม แก้โรคผิวหนัง
ต้น รสเฝื่อนขม แก้ลมคลื่นไส้
เปลือกต้น รสเฝื่อนขม แก้กระษัย แก้ไข้ แก้พิษร้อน
ราก รสเฝื่อนขม แก้ริดสีดวง มองคร่อ (อาการที่เกิดจากการมีเสมหะแห้งอยู่ในหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หลอดลมโป่งพอง มักจะไอมากในตอนเช้า ไอเสียงกังวาน) แก้หืด
DNA barcode ตัวอย่าง
รูปภาพ
ข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน
เอกสารอ้างอิง
อ.โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. หน้า 240.